วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เกร็ดความรู้เรื่อง Color blindness

ตาบอดสี (Color blindness) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมของยีนด้อยที่โครโมโซมเอ็กซ์ (X-linked recessive gene) ซึ่งตาบอดสีที่พบส่วนใหญ่เป็นตาบอดสีเขียวและตาบอดสีแดง


การทดสอบตาบอดสี สามารถทำได้โดยใช้แผนภาพทดสอบตาบอดสี ที่เรียกว่า Ishihara color blindness test ใครไม่เคยเห็นแผนภาพทดสอบตาบอดสีก็ดูซะ ภาพด้านล่างนี้แหละ


มาดูกันดีกว่าว่าข้อความเกี่ยวกับตาบอดสีด้านล่าง ข้อความไหนกล่าวได้ถูกต้องบ้าง

1. ลูกสาวตาบอดสีต้องมีพ่อตาบอดสี

ข้อความนี้ถูกต้อง เพราะหากลูกสาวเป็นตาบอดสี แสดงว่าต้องมียีนด้อยทั้งสองตัว ตัวนึงต้องได้มาจากพ่อแน่นอน ผู้ชายหากมียีนด้อยตัวเดียวก็เป็นตาบอดสีแน่นอน เพราะผู้ชายมีโครโมโซมเอ็กซ์เพียงอันเดียวเท่านั้น

2. แม่ตาปกติจะมีลูกสาวตาปกติเสมอ

ข้อความนี้ไม่ถูกต้อง แม่ตาปกติมีลูกสาวตาปกติได้ แต่กรณีที่แม่เป็นพาหะ (ตาปกติเหมือนกัน แต่มียีนตาบอดสี) แล้วไปแต่งงานกับผู้ชายที่เป็นตาบอดสี ลูกสาวที่เกิดขึ้นมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้

3. แม่ตาปกติอาจจะมีลูกชายตาบอดสี

ข้อความนี้ถูกต้อง เพราะข้อความนี้บอกว่า อาจจะ แม่ตาปกติอาจจะมีลูกชายตาบอดสีได้ ถ้าแม่เป็นพาหะ และอาจจะมีลูกชายตาปกติได้เช่นกัน ถ้าแม่ไม่ได้เป็นพาหะของโรค

4. แม่ตาบอดสีจะมีลูกชายตาบอดสีเสมอ

ข้อความนี้ถูกต้อง เพราะหากแม่มียีนด้อยทั้งสองตัว แน่นอนว่ายีนด้อยนั้นจะต้องถูกถ่ายไปให้ลูกชาย และลูกชายก็ต้องเป็นตาบอดสี เพราะมีโครโมโซมเอ็กซ์เพียงอันเดียว หากผิดปกติเป็นตาบอดสีชัวร์

5. แม่ตาปกติ (ไม่เป็นพาหะ) แต่งงานกับ พ่อตาปกติ จะได้ลูกชายและลูกสาวปกติ

ข้อความนี้ถูกต้อง พ่อแม่ไม่มียีนของโรค ดังนั้นลูกจึงต้องเป็นปกติ

6. แม่ตาปกติ (พาหะ) แต่งงานกับ พ่อตาปกติ จะได้ลูกสาวตาปกติ (เป็นพาหะหนึ่งคน และไม่เป็นพาหะหนึ่งคน) ส่วนลูกชายมีตาปกติและตาบอดสี

ข้อความนี้ถูกต้อง แม่มียีนของโรค ดังนั้นลูกชายจึงมีโอกาสเป็นทั้งตาปกติและตาบอดสี ส่วนลูกสาวก็มีโอกาสเป็นทั้งพาหะและไม่เป็นพาหะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น